0
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง เทศบาลตำบลพรุพีตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากอำเภอบ้านนาสารโดยประมาณ 9 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จด เขตเทศบาลตำบลคลองปราบ
ทิศใต้ จด เขตเทศบาลตำบลบ้านส้อง
ทิศตะวันตก จด เขตเทศบาลตำบลควนศรี
ทิศตะวันออก จด เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
แผนที่แสดงอาณาเขตเทศบาลตำบลพรุพี โดยสังเขป
1.2 เนื้อที่ พื้นที่เทศบาลตำบลพรุพี ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 89.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 55,973.5 ไร่
1.3 ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลพรุพีเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบและเชิงเขา โดยมีสภาพพื้นที่สรุปได้ดังนี้
ที่ดินทำกิน 51,351.88 ไร่
ที่ดินสาธารณะ 286.62 ไร่
ที่อยู่อาศัย 3,776.00 ไร่
ที่ราชพัสดุ 159.00 ไร่
เหมืองแร่ 400.00 ไร่
1.4 ลักษณะภูมิอากาศเทศบาลตำบลพรุพี แบ่งเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือนเท่ากับ 34.6 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายเดือนเท่ากับ 20.3 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ และมีค่าเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 26.4 องศาเซลเซียส
1.5 เทศบาลตำบลพรุพี ประกอบไปด้วย ๗ หมู่บ้าน แบ่งเขตการเลือกตั้ง เป็น ๒ เขต ดังนี้
- เขตเลือกตั้งที่ ๑ ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านตลาดพรุพี ผู้ใหญ่ประพล หนูศรีแก้ว
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งทือ ผู้ใหญ่สุวิทย์ พัฒน์สีทอง
หมู่ที่ 5 บ้านห้วยล่วง กำนันทรงศิลป์ ชูช่วยสุวรรณ
- เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบด้วย
หมู่ที่ 3 บ้านอินทนินงาม ผู้ใหญ่มนตรี ขานทอง
หมู่ที่ 4 บ้านคลองหินแท่น ผู้ใหญ่ธเนศ ไตรศิริ
หมู่ที่ 6 บ้านห้วยตอ ผู้ใหญ่นรินทร์ สุขาทิพย์
หมู่ที่ 7 บ้านช่องช้าง ผู้ใหญ่เอกชัย ปลอดอ่อน
1.6 จำนวนประชากร มีความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ย 63.83 คน/ตร.กม. แบ่งเป็น
หมู่ที่ |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
รวม |
|
เพศชาย |
เพศหญิง |
|||
1 |
626 |
814 |
845 |
1,659 |
2 |
182 |
177 |
183 |
360 |
3 |
220 |
329 |
339 |
668 |
4 |
266 |
339 |
349 |
668 |
5 |
295 |
394 |
437 |
831 |
6 |
95 |
122 |
140 |
262 |
7 |
380 |
617 |
631 |
1,248 |
77(บ้านกลาง) |
- |
- |
- |
- |
รวม |
2,064 |
2,792 |
2,924 |
5,716 |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอบ้านนาสาร (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558)
0
ความหมาย
ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลพรุพี ประกอบไปด้วยวงรีด้านนอกสองชั้นวงนอกสุดจะมีสองเส้น
มีชื่อเทศบาลตำบลพรุพีอยู่ด้านบน มีชื่ออำเภอ จังหวัด อยู่ด้านล่าง วงกลมด้านในมีเส้นรอบวง
หนึ่งเส้น ภายในประกอบไปด้วย ช้างคู่ประสานงวงชูดอกบัวบนฐาน ภูเขาสีเขียว
วงรีสามวง หมายถึง ความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรในตำบลพรุพี นับจากนอก
วงที่ 1 หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วงที่ 2 หมายถึง องค์กรปกครองท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
วงที่ 3 หมายถึง องค์กรภาคีต่างๆ ในพื้นที่
ช้างคู่ประสานงวงชูดอกบัวบนฐาน หมายถึง บ้านช่องช้าง ช้างสองตัวสื่อถึงบ้านช่องช้างเป็นหมู่บ้านประวัติศาสตร์ในการต่อสู้ ประสานงวงชูดอกบัว หมายถึง การบูชาคุณงามความดี
ภูเขาสีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของตำบลและสื่อถึงแปลงพัฒนาจุฬาภรณ์
0
2.1 อาชีพ ประชากรเขตเทศบาลตำบลพรุพี ประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
1) เกษตรกรรม ประมาณ 70%
2) ค้าขาย ประมาณ 5%
3) รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ ประมาณ 5%
4) รับจ้างทั่วไป ประมาณ 20%
2.2 หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลพรุพี มีดังนี้
1) ที่พัก/เกสเฮ้าส์ จำนวน 2 แห่ง
2) ปั้มน้ำมัน จำนวน ๒ แห่ง
3) โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง จำนวน 4 แห่ง
4) เหมืองแร่ยิปซั่มและแอนไฮไดรต์ จำนวน 5 แห่ง
5) โรงงานผลิตน้ำดื่มขนาดเล็ก จำนวน 2 แห่ง
6) จุดรับซื้อน้ำยาง จำนวน 10 จุด
7) ร้านรับซื้อยางแผ่น จำนวน 3 แห่ง
8) ร้านขายของชำ จำนวน 52 แห่ง
9 ) ร้านจำหน่ายวัสดุการเกษตร จำนวน 2 แห่ง
10) ตลาดนัด จำนวน 2 แห่ง
11) ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน 3 แห่ง
0
3.1 สถาบันการศึกษา ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพรุพี ดังนี้
1) โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๒ โรง
- โรงเรียนบ้านห้วยล่วง
- โรงเรียนบ้านควนเนียง
2) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 2 โรง
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๒
- โรงเรียนบ้านช่องช้าง
3) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง
- บ้านทุ่งทือ หมู่ที่ ๒
4) โรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
- อนุบาลกัญจนา
5) โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
-โรงเรียนพรุพีพิทยาคม
6) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
- ศพด. เทศบาลตำบลพรุพี
- ศพด.บ้านช่องช้าง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพรุพี ดังนี้
1) วัดสุคนธาวาส หมู่ที่ 4
3.3 การสาธารณสุข เทศบาลตำบลพรุพี มีหน่วยสาธารณสุข ดังนี้
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุพี หมู่ที่ 4 พื้นที่บริการ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4
2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช่องช้าง หมู่ที่ 7 พื้นที่บริการ หมู่ที่ 5 , 6 , 7
3) สมาชิก อสม.ระดับตำบล จำนวน 120 คน
4) อัตราการมีส้วมราดน้ำใช้ 100 %
5) ศูนย์ อสม. จำนวน 7 แห่ง
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเขตเทศบาลตำบลพรุพี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1) ชุดสรบ.บ้านช่องช้าง หมู่ที่ 7 จำนวน 20 คน
2) ชุดชรบ.หมู่บ้าน ครบทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน 150 คน
3) ชุดเฉพาะกิจกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 ชุด
4) ป้อมตำรวจชุมชน จำนวน 1 แห่ง
5) ป้อมยามหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
6) จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง จำนวน 10 แห่ง
7) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลพรุพี จำนวน 1 แห่ง /สมาชิก 144 คน
3.5 ด้านสวัสดิการสังคม/สันทนาการ เทศบาลตำบลพรุพี ให้การสนับสนุนด้านสวัสดิการสังคม และนันทนาการในพื้นที่ ดังนี้
1) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพรุพี
2) กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพรุพี
3) ศูนย์กีฬาหมู่บ้าน ทั้ง 7 หมู่บ้าน
4) ศูนย์กีฬาตำบล จำนวน 1 แห่ง
5) ศูนย์กู้ชีพ กู้ภัย (EMS) จำนวน 1 แห่ง
0
4.1 การคมนาคม เทศบาลตำบลพรุพี มีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ ดังนี้
1) ทางรถไฟ ได้แก่ สถานีรถไฟพรุพี ,ป้ายจอดรถไฟคลองศูนย์
- รถเร็วขบวนที่ ๑๗๓,๑๗๔ (กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช)
- รถท้องถิ่นขบวนที่ ๔๔๕,๔๔๖,๔๔๗,๔๔๘ (ขบวนท้องถิ่นทุกขบวน)
2) ถนน ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4009 (นาสาร-บ้านส้อง)
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4229 (ช่องช้าง-เหมืองทวด)
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 41 (ถนนเอเซีย)
- ถนนลาดยางในเขตเทศบาล จำนวน 12 สายทาง
- ถนนคอนกรีตในเขตเทศบาล จำนวน 12 สายทาง
- ถนนลูกรัง/หินแร่แอนไฮไดรท์ในเขตเทศบาล จำนวน 3๕ สายทาง
4.2 การโทรคมนาคม ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพรุพี มีระบบโทรคมนาคม ดังนี้
1) ที่ทำการไปรษณีย์พรุพี จำนวน 1 แห่ง
2) เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สาย จำนวน 3 แห่ง
3) โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 12 จุด
4) โทรศัพท์พื้นฐานบ้าน จำนวน 220 เลขหมาย
4.3 การไฟฟ้า ในเขตเทศบาลตำบลพรุพี มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ โดยประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน ๑๐๐ %
4.4 แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร มีดังนี้
1) ฝายน้ำล้น จำนวน ๒ แห่ง
- ฝายน้ำล้นคลองพรง
-ฝายน้ำล้นคลองพังปูน
2) บ่อบาดาล จำนวน 10 แห่ง
3) ประปาภูเขา จำนวน 1 แห่ง
4) ประปาหมู่บ้าน
- แบบมาตรฐานกรมโยธาธิการ (เดิม) รูปแบบ ก. 2 แห่ง (หมู่ที่ ๓,๔)
- แบบมาตรฐานกรมทรัพยากรน้ำ แบบบาดาลขนาดกลาง ๒ แห่ง (หมู่ที่ ๑,๗)
- แบบมาตรฐานกรมทรัพยากรธรณี(เดิม) แบบถ้วยเชมเปญ ๔ แห่ง (หมู่ที่ ๓,๔,๕,๖)
- แบบมาตรฐานกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แบบลูกบอล ๕ แห่ง (หมู่ที่ ๑,๒,๔,๕,๖)
- แบบมาตรฐานการประปานครหลวง บาดาลขนาดกลาง ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๕)
- ถังเก็บน้ำ แบบ ฝ.๙๙ 1 แห่ง (หมู่ที่ 2)
4.5 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เทศบาลตำบลพรุพี มีดังนี้
1) เหมืองแร่ยิปซั่มและแอนด์ไฮไดรต์ จำนวน 4 แห่ง
2) พื้นที่ป่า เขตพื้นที่หมู่ที่ 7 (เขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น,ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองน้ำเฒ่า,ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์พัฒนา 8)
4.6 สถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพรุพี ได้แก่ อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง,ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ,ต้นน้ำคลองคันเบ็ด
0
1) เหมืองแร่ยิปซั่มและแอนด์ไฮไดรต์ จำนวน 4 แห่ง
2) พื้นที่ป่า เขตพื้นที่หมู่ที่ 7 (ศูนย์จุฬาภรณ์พัฒนา 8)
3) ประชาชน หมู่ที่ 4 บ้านคลองหินแท่น
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพรุพี ได้แก่ อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง, สันไม้งาม บ้านช่องช้าง, อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง,
ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ,ต้นน้ำคลองคันเบ็ด
0
5.1 ชุด ชรบ. 7 หมู่บ้าน จำนวน 150 คน
5.2 ชุดเฉพาะกิจกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 50 คน
5.3 กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน
5.4 ชมรมผู้สูง จำนวน 7 หมู่บ้าน ระดับตำบล 1 กลุ่ม
5.5 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 ศูนย์
5.6 ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับตำบล จำนวน 1 ศูนย์
5.7 ประชาคมหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน
5.8 ประชาคมตำบล
5.9 สภาองค์กรชุมชนตำบลพรุพี
5.10 สภาเด็ก และเยาวชนตำบลพรุพี
5.11 อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
0
ศักยภาพด้านบุคลากร เทศบาลตำบลพรุพี กำหนดโครงสร้างส่วนราชการออกเป็น 4 กอง จำนวนอัตรากำลังทั้งสิ้น 51 อัตรา ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สำนักปลัดเทศบาล ประกอบด้วยตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
พนักงานเทศบาล จำนวน 11 อัตรา
1) นักบริหารงานเทศบาล จำนวน 2 อัตรา
2) นักบริหารงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
4) นิติกร 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
5) นักพัฒนาชุมชน 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
6) บุคลากร 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
7) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
8) เจ้าพนักงานธุรการ 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
9) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
10) เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้าง จำนวน ๔ อัตรา
1) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 อัตรา
2) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล จำนวน 1 อัตรา
3) พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1 อัตรา
4) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างทั่วไป พนักงานจ้าง จำนวน ๔ อัตรา
1) คนสวน จำนวน 1 อัตรา
2) นักการ จำนวน 1 อัตรา
3) คนงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
4) ภารโรง จำนวน 1 อัตรา
1.2 กองคลัง ประกอบด้วยตำแหน่งหน้าที่ ดังต่อไปนี้
พนักงานเทศบาล จำนวน 6 อัตรา
1) นักบริหารงานการคลัง จำนวน 1 อัตรา
2) นักวิชาการเงินและบัญชี 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
3) เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
4) เจ้าพนักงานพัสดุ 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
5) เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
6) เจ้าหน้าที่พัสดุ 1-3/4 จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้าง จำนวน ๓ อัตรา
1) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 อัตรา
2) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล จำนวน 1 อัตรา
3) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างทั่วไป พนักงานจ้าง จำนวน ๑ อัตรา
1) คนงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างประจำ จำนวน 2 อัตรา
1) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี จำนวน 1 อัตรา
2) เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ จำนวน 1 อัตรา
1.3 กองช่าง ประกอบด้วยตำแหน่งหน้าที่ ดังต่อไปนี้
พนักงานเทศบาล จำนวน 7 อัตรา
1) นักบริหารงานช่าง จำนวน 2 อัตรา
2) นายช่างโยธา 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
3) นายช่างไฟฟ้า 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
4) วิศวกรโยธา 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
5) ช่างโยธา 1-3/4 จำนวน 1 อัตรา
6) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 5 อัตรา
1) พนักงานผลิตน้ำประปา จำนวน 1 อัตรา
2) พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1 อัตรา
3) พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง จำนวน 1 อัตรา
4) ผู้ช่วยช่างไฟฟ้า จำนวน 1 อัตรา
5) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างทั่วไปจำนวน ๖ อัตรา
1) คนงานประจำรถขยะ จำนวน 2 อัตรา
2) คนงานทั่วไป จำนวน 4 อัตรา
1.4 กองการศึกษา ประกอบด้วยตำแหน่งหน้าที่ ดังต่อไปนี้
พนักงานเทศบาล จำนวน 7 อัตรา
1) นักบริหารงานศึกษา จำนวน 2 อัตรา
2) นักวิชาการศึกษา 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
3) สันทนาการ 3-5/6 จำนวน 1 อัตรา
4) เจ้าพนักงานธุรการ 2-4/5 จำนวน 1 อัตรา
5) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 1-3/4 จำนวน 1 อัตรา
6) ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้าง จำนวน 5 อัตรา
1) หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 อัตรา
2) ผู้ช่วยครูดูแลเด็ก จำนวน 3 อัตรา
3) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 อัตรา
0
- ตัวชี้วัดที่ 3 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 4 ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารแบบถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 5 คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 8 ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 3 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 9 ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 3 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 10 ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 45 ลิตรต่อวัน หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 2 จำนวน 1 ครัวเรือน , หมู่ที่ 4 จำนวน 2 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 11 ครัวเรือนมีการจัดการบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ถูกสุขลักษณะ หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 2 จำนวน 1 ครัวเรือน , หมู่ที่ 4 จำนวน 2 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 12 ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 14 ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 2 จำนวน 1 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 15 ครอบครัวมีความอบอุ่น หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 2 จำนวน 1 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 20 คนอายุ 15 – 60 ปีเต็มอ่านเขียนภาษาไทยได้และคิดเลขอย่างง่าย หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 1 คนใน 1 ครัวเรือน,หมู่ที่ 4 จำนวน 4 คน ใน 3 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 5 จำนวน 2 คน ใน 1ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 21 คนอายุ 15 – 60 ปีเต็มมีอาชีพและมีรายได้ หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 2 จำนวน 4 คน ใน 3 ครัวเรือน , หมู่ที่ 4 จำนวน 19 คน ใน 17 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 22 คนอายุมากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไปมีอาชีพและมีรายได้ หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 3 คน ใน 3 ครัวเรือน , หมู่ที่ 4 จำนวน 5 คน ใน 5 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 24 ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 6 จำนวน 2 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว) หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 10 คน ใน 8 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 2 จำนวน 26 คน ใน 23 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 3 จำนวน 7 คน ใน 4 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 4 จำนวน 9 คน ใน 9 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 5 จำนวน 5 คน ใน 4 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 6 จำนวน 21 คน ใน 12 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 7 จำนวน 3 คน ใน 3 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 53 คน ใน 40 ครัวเรือน,หมู่ที่ 2 จำนวน 35 คน ใน 31 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 3 จำนวน 15 คน ใน 13 ครัวเรือน,หมู่ที่ 4 จำนวน 57 คน ใน 47 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 5 จำนวน 46 คน ใน 38 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 6 จำนวน 20 คน ใน 13 ครัวเรือน ,หมู่ที่ 7 จำนวน 100 คน ใน 64 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่27 คนอายุ 6 ปีขึ้นไปปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์
หมู่ที่ 4 จำนวน 11 คน ใน 6 ครัวเรือน,หมู่ที่ 6 จำนวน 8 คน ใน 4 ครัวเรือน
- ตัวชี้วัดที่ 30 คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือท้องถิ่น หมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ หมู่ที่ 4 จำนวน 4 ครัวเรือน